หมวดหมู่

Social Sharing

024234997

เทอร์โมพลาสติกและเทอร์โมเซตติงพลาสติก คือ อะไร

พลาสติกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ


ก. เทอร์โมพลาสติก


            วัสดุประเภทเทอร์โมพลาสติกจะอ่อนตัวและหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อนและจะแข็งตัวเมื่อทำให้เย็นลง พลาสติกที่แข็งตัวแล้วสามารถนำมาหลอมซ้ำได้ด้วยความร้อนเทอร์โมพลาสติกจึงเป็นวัสดุที่มีสมบัติเหมาะสมสำหรับการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ด้วยเทคนิคพื้นฐาน เช่น การฉีด การอัดรีด หรือการปั่นเป็นเส้นใย นอกจากนี้  สมบัติของเทอร์โมพลาสติกที่นำมาหลอมใหม่และขึ้นรูปซ้ำได้ทำให้เกิดประโยชน์จากการใช้วัสดุเศษหรือของเสียจากการผลิต โดยการนำเศษพลาสติกหรือของเสียมาบดและผสมใช้กับเรซินใหม่ อย่างไรก็ดี ข้อควรระวังคือพลาสติกที่ผ่านกระบวนการที่มีความร้อนหลายครั้งสามารถเสื่อมสภาพ หรือทางเทคนิคเรียกว่า Degradation ดังนั้นการนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ควรใช้ผสมในสัดส่วนที่พอเหมาะเท่านั้น สำหรับผลิตภัณฑ์บางประเภทที่ต้องการสมบัติพิเศษ 
(ทางแสง) ควรระวังเรื่องความสะอาดของวัตถุดิบและสิ่งเจือปน เช่น เลนส์ไฟรถยนต์ การใช้วัสดุที่ผ่านกระบวนการผลิตมาแล้วอาจกระทบต่อสมบัติของผลิตภัณฑ์ได้มาก โพลิเมอร์ประเภทเทอร์โมพลาสติกอาจได้จากการสังเคราะห์แบบรวมตัว (
addition) หรือควบแน่น condensation ซึ่งเป็นพลาสติกที่ใช้งานทั่วไป ได้แก่ PE, PP, PET, nylon, และ PMMA เป็นต้น


ก.1 โพลีเอทิลีน

                       

            โพลีเอทิลีน (Polyethilene - PE) เป็นสารที่ข้นขาวโปร่งแสงซึ่งได้จากเอทิลีน (CH2=CH2) 
โพลีเอทิลีนมีการผลิตขึ้นทั้งในรูปที่มีความหนาแน่นต่ำและสูง โพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (
LDPE)
มีความหนาแน่นอยู่ในช่วงตั้งแต่ 
0.91 ถึง 0.93 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร โมเลกุลของ LDPE 
มีแบ็กโบนคาร์บอนที่มีไซด์กรุ๊ปของคาร์บอนสี่ถึงหกอะตอมติดกับแบ็กโบนหลักอย่างสุ่มๆ
 LDPE 
มีการใช้อย่างกว้างขวางเพราะว่าไม่แพง ยืดหยุ่นได้ ทนทานมากและทนต่อสารเคมี
 LDPE ถูกขึ้นรูปเป็นขวด หีบห่ออาหาร และของเล่น โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) มีความหนาแน่นอยู่ใน
ช่วงตั้งแต่ 
0.95 ถึง 0.97 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร โมเลกุลของ HDPE จะมีแบ็กโบนคาร์บอนที่ยาวมากแต่ไม่มีไซด์กรุ๊ป ผลก็คือ โมเลกุลเหล่านี้เชื่อมกันอย่างแน่นหนามากขึ้น HDPE แข็งแรงกว่า แข็งกว่า และโปร่งแสงน้อยกว่าโพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ HDPE ใช้ทำถุง ถังน้ำมันรถ หีบห่อและท่อน้ำ


ก.2 โพลีไวนิลคลอไรด์


            โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride - PVC) เตรียมได้จากสารอินทรีย์ที่ชื่อว่า
ไวนิลคลอไรด์ (
Ch2=CHCl) มีการใช้พีวีซีทำอะมอร์ฟัสพลาสติกอย่างกว้างขวาง พีวีซีมีน้ำหนักเบา ทนทานและกันน้ำได้ อะตอมของคลอรีนที่สร้างพันธะกับแบ็กโบนคาร์บอนในโมเลกุลของพีวีซีทำให้ตัวมันเองมีความแข็งและทนไฟได้ ในรูปที่แข็งตัน พีวีซีจะทนต่อการสึกกร่อนและนำไปทำท่อน้ำ ขอบบ้าน และรางน้ำ พีวีซีแข็งตันยังสามารถนำไปเป่าขึ้นรูปเป็นขวดใสและเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นๆ เช่น
คอมแพคดิสค์และเคสคอมพิวเตอร์ พีวีซีสามารถทำให้อ่อนได้ด้วยสารเคมีบางชนิด รูปที่อ่อนของพีวีซีจะใช้เป็นหีบห่ออาหาร ชุดกันฝน พื้นรองเท้า ขวดแชมพู กระเบื้องปูพื้น ถุงมือ เบาะ และอื่นๆ ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทำจากพีวีซีอ่อนจะผลิตโดยกระบวนการ 
extrusion, injection molding 
และ 
casting


ก.4 โพลีโพรพิลีน

            โพรลีโพรพิลีนเกิดขึ้นโดยสารประกอบโพรพิลีนและมีกลุ่มเมทิล (CH3) เชื่อมติดกับทุกอะตอมของคาร์บอนในโมเลกุลของแบ็คโบน เพราะว่ารูปปกติของโพลีโพรพิลีนมีกลุ่มเมทิลเหล่านี้อยู่ ทำให้ตัวโมเลกุลจัดเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบและแน่นหนา และทำให้เทอร์โมพลาสติกชนิดนี้มีความทนทานและทนต่อสารเคมี ผลิตภัณฑ์โพลีโพรพิลีนต่างๆ ก็เช่น เชือก เส้นใย กระเป๋าเดินทาง อุปกรณ์ลอยน้ำต่างๆ และสไตโรโฟม

ก.5 โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลท

            โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลท (Polyethylene Terephtalate - PET) ได้จากปฏิกิริยาของกรด
เทเรฟทาลิค
 (HOOC-C6H4-COOH) และเอทิลีนไกลคอล (HOCH2-CH2OH) ซึ่งทำให้ได้โมโนเมอร์ของ พีอีทีมา โมเลกุลของเอทิลีนจัดเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบมาก ทำให้กลายเป็นวัสดุที่แข็งแรงและทนต่อการถลอกซึ่งจะใช้ผลิตฟิล์มและเส้นใยโพลีเอสเตอร์ พีอีทีจะผลิตโดยกระบวนการ injection molding ให้เป็นที่ปัดน้ำฝน เกียร์ รอก และถาดอาหาร พลาสติกชนิดนี้ยังใช้ทำสิ่งทอหลายยี่ห้อเช่น Dacron, Fibre V, Fortrel และ Kodel ฟิล์ม พีอีทีที่แข็งและใส (ภายใต้เครื่องหมายการค้า Mylar) 
จะเคลือบด้วยสารแม่เหล็กเพื่อที่จะใช้ทำเทปอัดเสียงและวีดีโอ


ก.6 อะครีโลไนไทรล์ บิวทาดิอีน สไตรีน ฃ


            อะครีโลไนไทรล์ บิวทาดิอีน สไตรีน (Acrylonitrile butadiene styrene - ABS) สร้างขึ้นโดยใช้โพลีเมอร์สองชนิดก็คือ อะครีโลไนไทรล์ (CH2CHCN) และสไตรีน (C6H5CH=CH2) ซึ่งจะนำมาละลายในยางโพลีบิวทาดิอีน (-CH=CH-CH=CH-)n แล้วโมโนเมอร์เหล่านี้ก็กลายเป็นโซ่โพลีเมอร์โดยเชื่อมติดกับโมเลกุลของยาง


ข้อดีของเอบีเอส      ก็คือวัสดุนี้จะรวมความแข็งและแข็งแรงของอะครีโลไนไทรล์และสไตรีน กับความเหนียวของยางโพลีบิวทาดิอีน แม้ว่าราคาของเอบีเอสที่ผลิตออกมาจะแพงกว่าโพลีสไตรีนถึงเกือบสองเท่า เอบีเอสก็นับได้ว่าเป็นเลิศในความแข็ง ความแวววาว ความเหนียว และสมบัติในการเป็นฉนวน พลาสติกเอบีเอสจะผลิตโดยวิธีการ injection molding เพื่อทำโทรศัพท์ หมวกนิรภัย เครื่องปั่นในเครื่องซักผ้า และข้อต่อท่อน้ำ และผลิตโดยวิธี thermoforming เพื่อทำกระเป๋าเดินทาง รถกอล์ฟ ของเล่น และโครงรถ เอบีเอสยังได้ผ่านกระบวนการ extrusion เพื่อทำท่อน้ำ เพราะว่าข้อต่อสามารถเชื่อมให้สนิทกันด้วยตัวทำละลาย


ก.7 โพลีเมทิล เมทาคริเลท


            โพลีเมทิล เมทาคริเลท (PMMA) รู้จักกันในชื่อของอะครีลิค เกิดจากสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ชื่อว่าเมทิล เมทาคริเลท (C4O2H8) พีเอ็มเอ็มเอเป็นวัสดุที่ใสที่สุดเพราะว่าโมเลกุลมีการจัดเรียงตัวแบบอะมอร์ฟัส ผลก็คือ เทอร์โมพลาสติกชนิดนี้ใช้ทำเลนส์สายตา กระจกหน้าเครื่องบิน หน้าต่างหลังคา และป้ายโฆษณา ผลิตภัณฑ์พีเอ็มเอ็มเอยี่ห้อที่เป็นที่คุ้นหูคุ้นตาก็เช่น Plexiglas, Lucite และ Acrylite เพราะว่าพีเอ็มเอ็มเอสามารถเข้ากระบวนการ casting เพื่อให้ได้พลาสติกที่เทียบเท่ากับหินอ่อน แล้วก็ใช้ทำอ่าง ฯลฯ

ก.8 โพลีเอไมด์


            โพลีเอไมด์ (Polyamide - PA) หรือที่รู้จักกันในเครื่องหมายการค้าว่า Nylon ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เป็นระเบียบอย่างมาก ทำให้มีความทนต่อแรงตึงสูง โพลีเอไมด์บางชนิดได้จากปฏิกิรียาระหว่าง
กรดไดคาร์บอกซีลิคและไดเอไมน์ (โมเลกุลคาร์บอนที่มีไอออนของ NH2 เกาะอยู่ที่ปลายแต่ละข้าง) เช่น ในไนลอน-6,6 และไนลอน-6,10 (เลขด้านหลังสองตัวหมายถึงจำนวนคาร์บอนอะตอมที่ได้จาก
ไดเอไมน์และกรดไดคาร์บอกซีลิคตามลำดับ) ไนลอนชนิดอื่นๆ จะผลิตโดยกระบวนการ condensation polymerization ของกรดอะมิโนสองชนิด       

            โพลีเอไมด์มีสมบัติเชิงกล เช่น ความทนต่อการถลอก สัมประสิทธิ์ของความเสียดทานน้อย และความทนต่อแรงตึงเทียบได้กับอะลูมิเนียมอัลลอยที่อ่อนกว่า เพราะฉะนั้น ปกติไนลอนจึงใช้ในการทำงานเชิงกลต่างๆ เช่น เกียร์ และ bushing (ปลอกโลหะสำหรับลดผลจากการเสียดสีของอุปกรณ์ในเครื่องจักรหรือลดเส้นผ่านศูนย์กลางของรู) ไนลอนยังผ่านกระบวนการ extrusion molding ให้เป็น
เส้นใยหลายล้านตันทุกปี เส้นใยไนลอนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายได้แก่ ไนลอน-6,6 และไนลอน-6 (ที่เป็นเลขเดี่ยวก็เพราะว่าไนลอนนี้เกิดขึ้นโดยกรดอะมิโนชนิดเดียว) ซึ่งนำไปใช้ทำสิ่งทอ เชือก เอ็นตกปลา แปรง ฯลฯ


ข. วัสดุเทอร์โมเซตติง


            โพลิเมอร์ประเภทเทอร์โมเซทแตกต่างจากเทอร์โมพลาสติกที่โครงสร้างเป็นร่างแหหรือเกิด
การเชื่อมโยงกันระหว่างโมเลกุล ซึ่งอาจเป็นผลจากปฏิกิริยาเคมีหรือความร้อน โครงสร้างร่างแห(
cross links) จำกัดการเคลื่อนไหวของโมเลกุลโพลิเมอร์ และเมื่อได้รับความร้อนมักจะเสื่อมสภาพ โดยไม่สามารถอ่อนตัว หรือหลอมได้ใหม่ สมบัตนี้ทำให้การนำเทอร์โมเซทกลับมาใช้ใหม่เป็นไปได้ยาก แม้ว่าปัจจุบันจะมีการวิจัยและพัฒนาด้านรีไซเคิลเทอร์โมเซท มากขึ้นก็ตาม

            พลาสติกเทอร์โมเซทได้แก่ ฟินอลิคเรซิน อิพอกซี และโพลิยูรีเทน เป็นต้น พลาสติกหรือเรซินเหล่านี้จะใช้งานหรือผ่านขั้นตอนขึ้นรูป    ในรูปของเหลวที่มีความหนืดต่ำสามารถไหลไปตามแบบหรือแม่พิมพ์ได้ จากนั้นเรซินจะถูกบ่มโดยความร้อนหรือปฏิกิริยาเคมีทำให้เกิดการแข็งตัว เทอร์โมเซทอีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญมาก คือ อิลาสโตเมอร์ได้แก่ ยางวัลคาไนซ์ ยางสังเคราะห์ 
และเทอร์โมพลาสติกอิลาสโตเมอร์

            เทอร์โมเซทมักจะต้องการเวลาเพื่อการแข็งตัวมากกว่าเทอร์โมพลาสติก และอาจต้องมีการตกแต่งหลังจากขึ้นรูป แต่สมบัติที่น่าสนใจคือ การหดตัวหลังขึ้นรูปที่น้อยกว่า และสมบัติความทนต่อความร้อนและสารเคมีที่สูงกว่าเทอร์โมพลาสติก


ข.1 โพลียูรีเทน


            โพลียูรีเทนเป็นโพลีเมอร์ที่ประกอบไปด้วยหน่วยย่อยๆของ [-R-OOCNH-R'-]n โดย R และ R' คือกลุ่มแอลคิลที่แตกต่างกัน กลุ่มแอลคิลก็คือกลุ่มของโมเลกุลที่ได้มาโดยการนำอะตอมของไฮโดรเจนของไปจากแอลเคน ซึ่งเป็นไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบไปด้วยพันธะเดี่ยวของคาร์บอน 
เรซินโพลียูเรเทนส่วนใหญ่จะสร้างพันธะเชื่อมกันระหว่างโมเลกุล และดังนั้นจึงเป็น
เทอร์โมเซตติงพลาสติก แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีเรซินโพลียูรีเทนบางชนิดมีการจัดเรียงโมเลกุลเป็นแนวโดยที่ไม่มีการเชื่อมต่อกัน จึงได้เป็นเทอร์โมพลาสติกแทน โมเลกุลของเทอร์โมเซตติงโพลียูรีเทน
จะเชื่อมต่อกันกลายเป็นโมเลกุลใหญ่เดี่ยวๆ เทอร์โมเซตติงโพลียูรีเทนมีการใช้อย่างกว้างขวางในหลายรูปแบบ คือโฟมอ่อนและโฟมแข็ง โฟมโพลียูรีเทนอ่อนเซลล์เปิดจะใช้ในการทำเบาะ ฟูก และหีบห่อ ส่วนโฟมโพลียูรีเทนแข็งจะใช้เป็นฉนวนในตู้เย็น เครื่องแช่แข็ง และบ้าน โมเลกุลของ
เทอร์โมพลาสติกโพลียูรีเทนมีโครงสร้างโมเลกุลที่เป็นแนวยาว และเป็นผลึกอย่างสูง ซึ่งทำให้เป็นวัสดุที่ทนต่อการถลอก เทอร์โมพลาสติกโพลียูรีเทนได้รับการขึ้นรูปเป็นพื้นรองเท้า กันชนรถยนต์ ประตู ฯลฯ


ข.2 ฟีนอลิคส์


            เรซินฟีนอลิค (ฟีนอล-ฟอร์มาลดีไฮด์) เป็นโพลีเมอร์รุ่นแรกๆที่มีการผลิตขึ้น ซึ่งเริ่มหาได้ใน
เชิงพาณิชย์ในปี 1910 ฟีนอลิคส์ในปัจจุบันนี้เป็นเทอร์โมเซตติงพลาสติกที่มีการผลิตอย่างแพร่หลาย โดยการทำฟีนอล (C6H5OH) มาทำปฏิกิริยากับฟอร์มาลดีไฮด์ (HCOH) พลาสติกฟีนอลิคแข็ง แข็งแรง ไม่เสียค่าใช้จ่ายมากในการผลิต และเป็นตัวต้านทานไฟฟ้าอย่างยอดเยี่ยม เรซินฟีนอลิค
จะสร้างพันธะเชื่อมกันเมื่อได้รับความร้อนและความดันในกระบวนการข้นรูป กระดาษหรือผ้าเรซินฟีนอลิคสามารถนำไปเคลือบผลิตภัณฑ์ต่างๆได้มากมาย เช่น แผงวงจรไฟฟ้า เรซินฟีนอลิคยังนำไปผ่านกระบวนการ 
compression molding เพื่อขึ้นรูปเป็นสวิทช์ไฟฟ้า กระทะ แผ่นความร้อนและที่จับเตารีด โครงวิทยุและโทรทัศน์ และฐานเครื่องปิ้งขนมปัง

ข.3 เมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ และยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์


            เรซินยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์ (UF) และเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ (MF) ประกอบไปด้วยโมเลกุลที่สร้างพันธะเชื่อมกันกลายเป็นพลาสติกที่ใสและแข็ง สมบัติของเรซินยูเอฟและเอ็มเอฟคล้ายกับสมบัติของเรซินฟีนอลิค ดังที่ชื่อได้บอกไว้ เรซินทั้งสองตัวนี้ได้จาก condensation polymerization ระหว่าง
ยูเรีย (
H2NCONH2) กับเมลามีน (C3H6N6) หรือฟอร์มาลดีไฮด์ (CH2O) ตามลำดับ

            เรซินเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์สามารถขึ้นรูปได้ง่ายในเครื่อง compression molding และ special injection molding พลาสติกเอ็มเอฟสามารถทนความร้อนได้มากกว่า กันรอยขีดข่วนได้มากกว่า และเป็นรอยด่างได้น้อยกว่ายูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ เรซินเอ็มเอฟจะใช้ในการผลิตเครื่องครัว ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิคส์ เครื่องเรือนไม้อัดเคลือบ และติดชั้นของไม้ให้กลายเป็นไม้อัด 
            เรซินยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์จะใช้ในผลิตภัณฑ์เช่น ปุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่จับมีด และจาน นอกจากนั้นแล้ว เรซินยูเอฟจะใช้ทำเสื้อผ้าที่มีสมบัติ drip-dry (แห้งเร็วและไม่ยับเมื่อแขวนตาก) และ wash-and-ware (แห้งเร็วและไม่ต้องรีดหรือรีดเพียงเล็กน้อยก็นำมาใส่ได้เลย) รวมทั้งใช้ในการยึดติดเศษไม้เข้ากับแผ่นไม้เพื่อทำเป็นไม้อัด


ข.4 โพลีเอสเตอร์ไม่อิ่มตัว


            โพลีเอสเตอร์ไม่อิ่มตัว (Unsaturated polyesters - UP) อยู่ในกลุ่มของโพลีเอสเทอร์ 
โพลีเอสเทอร์ประกอบด้วยโซ่คาร์บอน
 [-OOC-C6H4-COO-CH2-CH2]n โพลีเอสเตอร์ไม่อิ่มตัวจะสร้างโมเลกุลเชื่อมโมเลกุลระหว่างกันหากนำมาโคโพลีเมอไรซ์ (สร้างโพลีเมอร์ร่วมกับ) ฟสารอินทรีย์มีกลิ่นที่ชื่อว่า สไตรีน เรซินโพลีเอสเตอร์ไม่อิ่มตัวปกติจะถูกผสมกับเส้นใยแก้วเพื่อเพิ่มความแข็งแรง 
เรซินเหล่านี้เป็นจะเตรียมไว้เป็น 
bulk molding compound (BMC) และ sheet molding compound (SMC) สารประกอบทั้งสองชนิดอาจจะเสริมด้วยใยแก้วและสารเพิ่มเติมอื่นๆ เอสเอ็มซีจะอยู่ในรูปของแผ่นพลาสติกขนาดใหญ่หรืออาจจม้วนอยู่ซึ่งจะนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์เช่นพื้นห้องน้ำ ลำเรือเล็ก และวัสดุทำหลังคา บีเอ็มซีจะเป็นก้อนพลาสติกขนาดใหญ่เพื่อเตรียมเข้ากระบวนการ 
compression molding เป็นตัวถังรถและส่วนประกอบรถยนต์อื่นๆ

ข.5 อีพอกซี่


            เรซินอีพอกซี่ (Epoxy - EP) ได้ชื่อมาจากกลุ่มอีพอกไซด์ (cyclic-CH2OCH คำว่า cyclic หมายถึงกลุ่มนี้เป็นโมเลกุลรูปห่วงสามเหลี่ยม) ที่ต่ออยู่ท้ายโมเลกุล ออกซิเจนที่อยู่ในโซ่คาร์บอนและกลุ่มอีพอกไซด์ที่อยู่ที่ปลายโซ่คาร์บอนทำให้เรซินอีพอกซี่มีสมบัติที่เป็นประโยชน์มายมาย อีพอกซี่เหนียว ทนต่อการสึกกร่อนมาก และไม่หดตัวระหว่างที่แห้งตัว พันธะที่เชื่อมกันระหว่างโมเลกุล
ของอีพอกซี่จะเกิดขึ้นเมื่อตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้แข็งได้ใส่ลงไปทำให้ได้เป็นโครงร่างตาข่ายโมเลกุลสามมิติ เพราะว่าความแข็งแรงของพันธะ เรซินอีพอกซี่จึงใช้เป็นที่เคลือบผิว และสารยึดติด อีพอกซี่มีการใช้งานที่สำคัญในอุตสาหกรรมยานอวกาศ ส่วนประกอบอากาศยานทั้งหมดทำจากอีพอกซี่ 
อีพอกซี่ใช้ทำผิวปีกของเครื่องบินรบเอฟ-
18 และเอฟ-22 รวมทั้งเป็น horizontal stabilizer ของเครื่องบินรบเอฟ-16 และเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-1 นอกจากนั้นแล้ว เกือบยี่สิบเปอร์เซนต์ของน้ำหนักเครื่องบินเจ็ทแฮร์เรียร์มีการเสริมรอบตัวถังด้วยกาวอีพอกซี่ เนื่องจากความสามารถในการทนต่อสารเคมีของอีพอกซี่และสมบัติในการเป็นฉนวนที่เยี่ยมยอด ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิคส์เช่น เครื่องถ่ายทอดภาวะกระแสไฟฟ้า (relay) คอยล์ รวมทั้งหม้อแปลงก็มีฉนวนเป็นอีพอกซี่


ข.6 Reinforced Plastics


            Reinforced plastics หรือที่เรียกว่าคอมโพสิท เป็นพลาสติกที่เสริมความแข็งด้วยเส้นใย เกลียวเชือก ผ้า หรือวัสดุอื่นๆ เรซินเทอร์โมเซตติงอีพอกซี่และเรซินโพลีเอสเตอร์ปกติใช้เป็นกาว
โพลีเมอร์ในคอมโพสิท เนื่องจากความแข็งแรงและความง่ายในการหา เส้นใยแก้วจึงใช้เป็นวัสดุเสริมที่ใช้อย่างแพร่หลาย เส้นใยสังเคราะห์อินทรีย์เช่น
 aramid (โพลีเอไมด์มีกลิ่นที่รู้จักกันในเครื่องหมายการค้า Kevlar) ซึ่งมีความแข็งแรงและแข็งมากกว่าเส้นใยแก้ว แต่ก็แพงกว่าเช่นกัน 
เครื่องบินโบอิ้ง 777 นำคอมโพสิทน้ำหนักเบาไปใช้อย่างมาก ผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ทำจากคอมโพสิทก็เช่น ลำเรือ ตัวถังรถ ไม้เทนนิส ไม้กอล์ฟ และเจ็ทสกี

แท็ก: บทความ

20 มิถุนายน 2561

ผู้ชม 224343 ครั้ง

Engine by shopup.com